RSS

Home


welcome

  • ยินดีต้อนรับเข้าสื่อเว็บไซต์ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา  ผู้จัดทำได้จัดทำเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจสื่อการศึกษา  เพื่อให้ผู้ที่สมใจสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้จากเว็บไซต์นี้
  • ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว็บไซต์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนสำหรับผู้ที่สมใจในรายวิชาธุรกิจสื่อการศึกษา  และยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากเว็บไซต์นี้ไปประกอบอาชึพเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป
  • ขอขอบพระคุณท่าน  อาจารย์ปกเกศ  ชนะโยธา  ที่คอยให้คำปรึกษาและยังให้ข้อเสนอแน่ะในการจัดทำเว็บไซต์ในรายวิชาธุรกิจสื่อการศึกษา  จนสำเร็จไปได้ด้วยดีจึงขอกราบขอพระคุณไว้น่ะที่นี้ด้วย
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 22, 2012 นิ้ว Uncategorized

 

ยุคไอทีอิทธิพลสูงจุดเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคปี 2556

news_img_482951_1

ยุคไอทีอิทธิพลสูงจุดเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคปี 2556

          ชี้แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่สำคัญปี 2556 โดยมีปัจจัยเทคโนโลยีที่เติบโตก้าวกระโดดเป็นแรงผลักดันสำคัญ เช่น เทคโนโลยีคลาวด์ ทำให้ความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนไป และกลุ่มผู้หญิงเป็นแรงผลักดันหลักในตลาดมือถือสมาร์ทโฟน ถือเป็นสองแนวโน้มสำคัญ ขณะที่พฤติกรรมคนหนุ่มสาวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม และอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ

“ข้อมูลดังกล่าวนี้ เป็นการศึกษาวิจัยทั่วโลกจากการสัมภาษณ์คนจำนวนกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ในมหานครขนาดใหญ่กว่า 15 แห่ง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้สะสมข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคจำนวนมหาศาล และปัจจุบันเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน” นายไมเคิล บียอร์น หัวหน้าฝ่ายวิจัยของคอนซูมเมอร์ แล็บ กล่าว

นี่คือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เห็นเด่นชัดที่สุดปี 2556

1.ความสำเร็จบริการ “คลาวด์” ทำให้ความต้องการผู้บริโภคบนอุปกรณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป มากกว่า 50% ของผู้ใช้แทบเล็ต และมากกว่า 40% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสวีเดนพึงพอใจการใช้บริการคลาวด์ เพื่อให้สามารถใช้แอพตัวเดียวกัน และแชร์ข้อมูลต่างๆ ได้ บนอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งเครื่องอย่างรวดเร็ว

2.อุปกรณ์สื่อสารเพื่อความรวดเร็วทันใจ จากเดสก์ทอปที่ใช้ไฟล์และโฟลเดอร์ สู่อุปกรณ์พกพาที่ใช้ผ่านแอพ และบริการคลาวด์ ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากทำงานบนโต๊ะ สู่การใช้อุปกรณ์สื่อสารยุคใหม่ที่พกพาได้สะดวก งานหลายอย่างทำได้ในช่วงเวลาอันสั้น ขณะเข้าแถวซื้อสินค้า หรือขณะที่คุยกับใครสักคนในร้านกาแฟ ผู้บริโภคในหลายประเทศต้องการซื้อแทบเล็ตมากกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และต้องการซื้อสมาร์ทโฟนมากกว่าโน้ตบุ๊คอีกด้วย

3. นำอุปกรณ์บรอดแบนด์ส่วนตัวมาทำงาน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 57%จะใช้สมาร์ทโฟนส่วนตัวในที่ทำงาน นิยมใช้ช่วยทำงาน รับส่งอีเมลล์ วางแผนเดินทางในธุรกิจ หาข้อมูลที่อยู่ต่างๆ และอีกหลายประโยชน์ใช้สอย

4. ผู้คนในเมืองใหญ่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ด้วยความต้องการผู้บริโภคที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา ได้ผลักดันให้เกิดการเติบโตตลาดอินเทอร์เน็ตบนมือถืออย่างแท้จริง คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากถึง 3,300 ล้านคนภายในปี 2561 และชีวิตในเมืองจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์มือถือคุณภาพดีครอบคลุมทั่วถึง

5.มีการนำเครื่องมือออนไลน์มาใช้ประโยชน์หลายภาคส่วน เนื่องจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากเริ่มขาดความมั่นใจต่อองค์กรภาครัฐ และเอกชนบนโครงสร้างแบบดั้งเดิม จึงหันมาใช้เครื่องมือออนไลน์อย่างกว้างขวางเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง และเพื่อใช้เป็นที่พึ่งยามฉุกเฉิน เช่น การรวมกลุ่มออนไลน์สร้างสหกรณ์ออมทรัพย์แทนระบบธนาคาร การรวมกลุ่มของนักเรียนเพื่อช่วยกันทำการบ้าน การใช้สังคมออนไลน์แบบลิงค์-อิน เพื่อช่วยหางานแทนบริษัทจัดหางานแบบเดิม เป็นต้น

6.กลุ่มผู้หญิงมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนตลาดสมาร์ทโฟน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้หญิงเป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้เกิดการยอมรับสมาร์ทโฟนอย่างกว้างขวาง มากกว่า 97% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพศหญิงใช้เอสเอ็มเอส 77% ใช้รับส่งรูปภาพ 59% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค 24 %ใช้เช็คอินเพื่อแสดงสถานที่ที่ตัวเองอยู่ 17%ใช้ค้นหาคูปองต่างๆ เป็นต้น ขณะที่ตัวเลขเหล่านี้สำหรับผู้ใช้เพศชายมีค่าน้อยกว่า

7.ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คสร้างไอเดียใหม่ๆ ในสังคมเมือง ผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่ มักมีจำนวนเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่าผู้อาศัยบริเวณชานเมือง โดย 12% ของผู้อยู่ในเมือง บอกว่า เหตุผลหลักที่พวกเขาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่น ถือเป็นเหตุผลการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสาม รองจากการใช้เพื่อติดตามเรื่องราวของกลุ่มเพื่อน และใช้เพื่ออัพเดท ข้อมูลของตัวเองสู่พวกเขา

8.ประสบการณ์ชอปปิงแบบผสมผสานที่เรียกว่า “อิน-ไลน์ ชอปปิง” (In-line shopping) ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวน 32% ใช้สมาร์ทโฟนซื้อสินค้าอยู่แล้ว และเริ่มชอปปิงรูปแบบใหม่เรียกว่า อิน-ไลน์ ชอปปิง ผสมผสานข้อดีเลือกซื้อสินค้าในร้าน (อิน-สโตร์ ชอปปิง) เพื่อมีโอกาสสัมผัสของจริง ใช้เครื่องมือออนไลน์หาข้อมูลเพิ่มเปรียบเทียบราคา ใช้ซื้อสินค้าเพื่อลดเวลาเข้าคิวรอจ่ายเงิน

9.ทีวีบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผู้ชมราว 62% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ขณะที่ดูวีดีโอและทีวี โดย 42% ของผู้ชมกลุ่มนี้จะคุยกับผู้อื่นถึงสิ่งที่พวกเขากำลังรับชมอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดย 30%ของผู้ชมกลุ่มนี้เต็มใจจ่ายเงินกับคอนเทนท์ ที่พวกเขารับชมผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่า และรับชมวีดีโอ รวมถึงทีวีบนอุปกรณ์พกพาส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้าน

10.การเรียนรู้บนความเปลี่ยนแปลง ด้วยปัจจัยภายใน และภายนอกทำให้การเรียนรู้ยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เด็กหนุ่มสาวยุคนี้ มักนำอุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองเข้าไปในห้องเรียนด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อหาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การเชื่อมสู่โลกอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับเด็กๆ ทั่วโลก ในประเทศอินเดีย มีเด็กอายุ 9-18 ปี ราว 30 ล้านคน จากทั้งหมด 69 ล้านคน ที่อาศัยในเมืองใหญ่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 1, 2013 นิ้ว Uncategorized

 

กลยุทธ์ทางการตลาด (8 P’s Strategy)

             กลยุทธ์ทางการตลาด (8 P’s Strategy) หมายถึง กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว (Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด (Segmentation) ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆ ได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้

แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนผสมทางการตลาด ดังนี้
1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ ( Product Strategy )
2. กลยุทธ์ราคา ( Price Strategy )
3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย ( Place Strategy )
4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion Strategy )
5. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ ( Packaging Strategy )
6. กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal Strategy )
7. กลยุทธ์การให้ข่าวสาร ( Public Relation Strategy )
8. กลยุทธ์พลัง ( Power Strategy )
……………………………………………………ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) คือ กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
      1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (Product attribute)
      2. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product mix)
      3. สายผลิตภัณฑ์ (Product lines)

สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
     1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์ (Product Concept) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
     2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (Product attribute) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
     3.ลักษณะเด่นของสินค้า (Product Feature) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่นลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
     4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ (Product Benefit) พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า

ตัวอย่างกลยุทธ์
     : ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เราเพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
: ละทิ้งผลิตภัณฑ์ซึ่งบังไม่สามารถทำกำไรนับตั้งแต่เมื่อนำผลิตภัณฑ์นั้นๆ สู่ตลาดแล้วเป็นเวลา 5 ปี

2. กลยุทธ์ราคา (Price Strategy) เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนัก คือ ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ ด้านราคา (Price strategy) การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
    1.ตั้งราคาตามตลาด ( On going price ) หรือตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price )
1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด (On going price) เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตกต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่น
คือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน
1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price ) เป็นการตั้งราคาตามความพอใจโดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสิน
ค้า สินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ
     2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง ( Premium price ) เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่า และการยอมรับในราคาของลูกค้า หรือราคามาตรฐาน (Standard ) เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน ( Fighting brand ) เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง
     3. การตั้งราคาเท่ากันหมด ( One pricing ) คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่องหมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด หรือราคาแตกต่างกัน( Discriminate price ) ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้
     4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extension ) ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง
    5. การขยับซื้อสูงขึ้น ( Trading up ) เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้นจึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง ( Trading down ) เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า เพื่อให้คนซื้อสินค้าที่รองลงมา
    6. การใช้กลยุทธ์ด้านขนาด ( Size ) คือไม่ทำขนาดเท่ากับผู้ผลิตรายอื่น ๆ

ตัวอย่างกลยุทธ์
: ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 30 เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
: ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี

3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place Strategy) คือกลยุทธ์เกี่ยวกับวิธีการจัดจำหน่าย จะต้องพิจารณาถึงรายละเอียดดังนี้
     1. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Channel of distribution ) เป็นเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ซึ่งอาจจะผ่านคนกลางหรือไม่ฝ่ายคนกลางก็ได้
    2. ประเภทของร้านค้า ( Outlets ) ในทุกวันนี้จะพบได้ว่าวิวัฒนาการของการจัดจำหน่ายนั้นเป็นสิ่งที่เจริญเติบโตรวดเร็วมากประเภทของร้านค้ามีมากมายจนแทบจะตามไม่ทันจะขอเรียงลำดับประเภทของร้านค้าจากใหญ่ไปหาเล็ก
(1) ร้านค้าส่ง ( Wholesale store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
(2) ร้านค้าขายของถูก( Discount store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าราคาพิเศษ
(3) ร้านห้างสรรพสินค้า( Department store )
(4) ซูเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่เดี่ยว ๆ (Stand alone supermarket)เป็นร้านที่มีทำเลเดี่ยวไม่ติดกับร้านค้าใดๆ
(5) ช้อปปิ้งชุมชน ( Community mall ) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน
(6) Minimart จะเห็นได้จากร้านค้าเล็กๆ ตามตึกอาคารสูงๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งตั้งฮั่วเส็งเริ่มบุกตลาด Minimart พอสมควร
(7) ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าสะดวกซื้อ บางร้านจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
(8) ร้านค้าในปั๊มน้ำมัน
(9) ซุ้มขายของ ( Kiosk ) เป็นร้านที่จัดเป็นซุ้มขายของ บางครั้งจัดเป็นบูท
(10) เครื่องขายอัตโนมัติ ( Vending machine ) เป็นการขายสินค้าผ่านเครื่องจักรอัตโนมัติ
(11) การขายทางไปษณีย์ ( Mail order ) เป็นการขายสินค้าซึ่งใช้จดหมายส่งไปยังลูกค้า มีการลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ถ้าพอใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อ
ทางไปรษณีย์
(12) ขายโดยแคตตาล็อก ( Catalog sales )
(13) ขายทางโทรทัศน์ ( T.V. Sales )
(14) ขายตรง ( Direct sales ) การขายโดยใช้พนักงานขายออกเสนอขายตามบ้าน
(15) ร้านค้าสวัสดิการ เป็นร้านค้าที่ตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับพนักงานตามหน่วยงานราชการ ต่างๆ ของบริษัท หรือสำนักงานต่างๆ
(16) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ
    3. จำนวนคนกลางในช่องทาง ( Number of intermediaries ) หรือความหนาแน่นของคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย( Intensity of distribution ) ในการพิจารณาเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีกระบวนการ 3 ขั้นตอนดังนี้
(1) การพิจารณาเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร
(2) พฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิต ต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยเพียงใด
(3) การพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์
     4. การสนับสนุนการกระจายตัวสินค้าเข้าสู่ตลาด ( Market logistics ) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานของผู้ผลิต แล้วกระจายไปยังผู้บริโภค

ตัวอย่างกลยุทธ์
: ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 30 เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
: ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี

4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion Strategy ) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวมและควรกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง

ตัวอย่างกลยุทธ์
: ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
: ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของเราในช่วงที่ยอดขายตกต่ำของปี

5. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategy)การตัดสินใจเลือกรูปแบบการบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนาใหม่หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์มีหลักในการพิจารณาดังนี้
1. บรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมที่จะบรรจุสินค้า ( Put in ) หรือไม่
2. สินค้าเมื่อวางบนชั้นแล้วได้เปรียบ (เด่น ) ( Put up ) หรือไม่
3. สินค้าเมื่อนำเอามาใช้แล้วเก็บสะดวก ( Put away ) หรือไม่
4. บรรจุภัณฑ์สวยงาม ( Prettiness ) หรือไม่
5. สามารถเชิญชวนให้ใช้ ( Pleading ) ได้หรือไม่
6. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนตำแหน่งครองใจของสินค้า ( Positioning ) ได้หรือไม่
7. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้า ( Personality ) ได้หรือไม่
8. บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้า ( Protection ) ได้หรือไม่
9. บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน ( Practicality ) หรือไม่
10.บรรจุภัณฑ์ที่เลือกนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ( Profitability ) ได้หรือไม่
11.บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาด ( Promotion ) ได้หรือไม่
12.เป็นการบอกถึงวิธีการใช้สินค้า ( Preaching ) ได้หรือไม่
13.สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ( Preservation ) ได้หรือไม่ ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาทั้งหมดจะเห็นว่าในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะเป็นโลโก้ ตัวหนังสือ ตัวอักษรการเลือกเป็นกระดาษ เป็นโฟม เป็นฝาจุก หรือเครื่องหมาย สีสันต่างๆ บริษัทก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ดี

ตัวอย่างกลยุทธ์
: เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยสีสันที่สดใสเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน ณ จุดขาย
: ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี

6. กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย (Personal Strategy)
            การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้าทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขาย และการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย นอกจากนี้การขายโดยใช้พนักงานขายนั้น ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่างกลยุทธ์
: กำหนดตัวเลขอัตราส่วนการขาย เช่น จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง ( Prospect ) เมื่อเทียบกับจำนวนที่กลายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราในที่สุดหรือจำนวน ลูกค้าที่ซ่อสินค้าเมื่อเทียบกับลูกค้าที่เข้ามาในห้างทั้งนี้เพื่อการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของพนักงานขาย
: คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแกพนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า

7. กลยุทธ์การให้ข่าวสาร (Public Relation Strategy)
             การให้ข่าวสารนั้นคือรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติที่เป็นบวกต่อสินค้าและกิจการของเรา แต่ปัจจุบันการสื่อสารโดยวิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับสื่ออีกด้วย การให้ข่าวสารแก่สาธารณะชน นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวสารจัดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร และต้องการให้ผลลัพธ์นี้ออกมาในเชิงบวกแก่องค์กร สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างยิ่งในการให้ข่าวสารคือ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้รับข่าวสารและสื่อโฆษณาที่จะใช้เพื่อการสื่อข่าวสาร

ตัวอย่างกลยุทธ์
: การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
: กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา: กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา

8. กลยุทธ์พลัง ( Power Strategy )
           พลังในที่นี้หมายถึง อำนาจในการต่อรองและควบคุม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการเนรมิตให้เกิดขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นและขาดเสียไม่ได้ในองค์ประกอบ P ส่วนสุดท้ายนี้ เพราะอำนาจต่อรองจะเป็นพลังพิเศษที่นำมาใช้ต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้าให้บริษัทได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุดในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันตามกรอบได้อย่างลงตัว

สรุป
           กลยุทธ์การตลาด 8P ที่ได้กล่าวมานี้เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่นักธุรกิจส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำการตลาด โดยอาจแตกต่างตรงที่บางบริษัทประสบความสำเร็จ แต่บางบริษัทกลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบริษัทที่ล้มเหลวไม่อาจสร้างองค์ประกอบทางกลยุทธ์ 8P ได้ครบตามวงจร ดังนั้นผู้ประกอบการที่สนใจจะใช้กลยุทธ์ 8P นี้ทำการตลาดให้ได้ผล ต้องเอาใจใส่ทุกรายละเอียดของกลยุทธ์แต่ละข้อ เพื่อสร้างสรรค์ตัว P ทั้งแปดให้เกิดขึ้นมาให้ได้

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 1, 2013 นิ้ว Uncategorized

 

กลยุทธ์การตลาดแบบไอเอ็มซี (Imc on action)

กลยุทธ์การตลาดแบบไอเอ็มซี (Imc on action) หมายถึง เครื่องมือการติดต่อสื่อสารการตลาดชนิดหนึ่งโดย IMC ย่อมาจาก (Integrated Marketing Communication-IMC) โดย IMC จะใช้การติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้บริโภคกลุ่มนั้น หรือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเปิดรับ (Exposure) ทุกรูปแบบ รูปแบบต่าง ๆ ของ IMC ซึ่งตัวอย่าง รูปแบบเหล่านี้อาจจะไม่ครบถ้วนตามรูปแบบของ IMCแต่เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมาก เพราะว่าความคิดทางวิชาการใหม่ๆ จะเกิดขึ้นเสมอ

รายละเอียดในการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไอเอ็มซี IMC
1. การโฆษณา (Advertising) เป็นรูปแบบของการสร้างการติดต่อสื่อสารด้านตราสินค้า (Brand contact) การโฆษณาใช้ในกรณีต่อไปนี้
1.1 ต้องการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ (Differentiate product) อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
1.2 ต้องการยึดตำแหน่งครองใจสินค้า (Brand positioning)
ตัวอย่าง ต้องการสร้าง Positioning ว่าโพรเทคส์ เป็นสบู่ป้องกันแบคทีเรีย รีจอยส์เป็นแชมพูที่มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์ว่าเป็น 2 in 1ซึ่งผลิตภัณฑ์แรกที่เข้าสมาในตลาดก่อนคือ Dimension 2 in 1 แต่ Dimension ใช้โฆษณาน้อย ดังนั้น รีจอยส์จึงสามารถยึดครอง positioningการเป็น 2 in 1 ได้ดีกว่า ดังนั้นโฆษณาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีการทำโฆษณาก็เหมือนกับว่าเราไม่มีกรรมสิทธิ์ในตราสินค้า
1.3 ใช้การโฆษณาเมื่อต้องการสร้างผลกระทบ (lmpact) ที่ยิ่งใหญ่ ตัวอย่าง โครงการบ้านจัดสรรทายาทเศรษฐีมีกลุ่มเป้าหมายน้อย แต่เพื่อให้โครงการมีความยิ่งใหญ่ ถือว่าเป็นการโฆษณาให้มีผลกระทบทั้งด้านภาพลักษณ์ (lmage) และผลกระทบ (lmpact) ทางด้านการพูดคุยในกลุ่มลูกค้า
1.4 ถ้าสินค้าเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วไม่ต้องให้ความรู้กับคน (Educated) ต้องการย้ำตำแหน่งสินค้า (Brand positioning) ต้องการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ลูกค้ามีพฤติกรรมที่ไม่ต้องเปลี่ยนความคิดของลูกค้า ก็ควรใช้การโฆษณา เช่น แชมพูซันซิล หมากฝรั่งล็อตเต้ โฆษณาบ้านธรรมดา คุณสมบัติบ้านไม่มีแนวความคิดใหม่ ๆ เหล่านี้ไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างความคิดของผู้บริโภคใดๆ ทั้งสิ้น เพียงสร้างการรู้จัก (Awareness) และแสดงจุดขาย (Selling point) ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (positioning) ที่ชัดเจน

2. การขายโดยใช้พนักงาน (Personal selling) เป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งจะใช้พนักงานขายในกรณี ต่อไปนี้
2.1 เมื่อสินค้านั้นเหมาะสมกับการขายโดยใช้พนักงาน เช่น สินค้าประเภทที่ขายตามบ้าน (Door to door selling) ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิต เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องสำอาง
2.2 เมื่อลักษณะสินค้าต้องมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Knowledge) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนซึ่งไม่สามารถจ่ายผ่านสื่อมวลชน (Mass media)ได้ สินค้าพวกนี้ได้แก่ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องทำน้ำแข็ง เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องยนต์ สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงต้องอาศัยพนักงานขายช่วยอธิบาย เพราะไม่สามารถใช้สื่อโฆษณาอธิบายได้ชัดเจน
2.3 หน่วยงานขายจำเป็นต้องใช้ในกรณีที่สินค้านั้นต้องการบริการที่ดี (Good sales services) ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้คนให้บริการประกอบการขายสินค้านั้นด้วย โดยพนักงานขายจะเป็นผู้บริการแนะนำติดตั้งซ่อมบำรุงซึ่งพนักงานขายมีบทบาทสำคัญมากขึ้น

3. การส่งเสริมการขาย (Sale promotion) มีวัตถุประสงค์ของการวางแผน ดังนี้
3.1 การดึงลูกค้าใหม่ (Attract new users) การที่จะดึงลูกค้าให้มาซื้อสินค้านั้นจะต้องลดอัตราเสี่ยงจากการใช้สินค้าใหม่ให้กับผู้บริโภคการลด แลก แจก แถม เป็นวิธีหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงได้ เป็นสิ่งที่จะเอาชนะความเฉื่อยชา (lnershier) ของการคิดเปลี่ยนแปลง
3.2 การรักษาลูกค้าเก่าไว้ (Hold current customer) ในกรณีที่คู่แข่งมีการออกสินค้าใหม่ลูกค้าอาจจะเกิดความสนใจและมีความคิดอยากจะทดลองใช้สินค้าใหม่ ดังนั้นจะต้องแก้ไขโดยทำให้ไม่เป็นไปตามความคาดหมาย (Off set หรือ dilute) ซึ่งเป็นการลดความเข้มข้นลงด้านการส่งเสริมการขาย ลูกค้ามีความสนใจในสินค้าใหม่แต่ยังไม่แน่ใจในคุณภาพของสินค้า ซึ่งตราสินค้าเก่าที่ใช้จนแน่ใจในคุณภาพแล้วมีการส่งเสริมการตลาดในกรณีการ เปลี่ยนใจจะยากมาก
3.3 การส่งเสริมลูกค้าในปัจจุบันให้ซื้อสินค้าในปริมาณมาก (Load present user) กรณีนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งขัน แต่เกิดขึ้นเพราะไม่แน่ใจว่าลูกค้า จะ กลับมาซื้อสินค้าอีกหรือไม่ เช่น น้ำยาล้างจานเมื่อผู้บริโภคใช้หมดแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาซื้อสินค้าอีกหรื่อไม่ สิ่งนี้จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทำอย่างไรลูกค้าจึงจะซื้อสินค้าในจำนวนมาก เช่น ให้คูปองมูลค่า 15 บาท กับน้ำยาล้างจานขนาด 10 บาท เพื่อไปซื้อน้ำยาล้างจานขนาดแกลลอน
3.4 การเพิ่มอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ (Increased product usage) เกิดขึ้นเมื่อต้องการให้ผู้บริโภคใช้สินค้ามากขึ้นกว่าเดิมหรือใช้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง การ  สะสมไมล์ เพื่อให้ใช้บริการจากสายการบินนั้นอย่างต่อเนื่อง บัตรเครดิตอาจกำหนดว่าถ้าใครใช้ถึง 50,000 บาทภายใน 3 เดือนจะได้ของแถมโดยการสะสมคะแนน
3.5 การส่งเสริมการขายทำให้ผู้บริโภคเกิดการยกระดับ (Trade up) โดยให้ซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีคุณภาพดีขึ้น ตัวอย่าง ให้ผู้บริโภคนำรถยนต์โตโยต้ารุ่นเก่ารุ่นใดก็ได้มาแลกซื้อรถยนต์รุ่นใหม่
3.6 การเสริมแรงการโฆษณาในตราสินค้า (Reinforce brand advertising) เมื่อโฆษณาไปแล้วควรใช้การส่งเสริมการตลาด เช่นโปสเตอร์ โมบาย ป้ายแขวน แผ่นพับ ใบปลิว ชั้นวางที่พูดได้ (Shelf talker) เมื่อผู้บริโภคเดินผ่านก็จะพูดคุยกับผู้บริโภค เป็นการเพิ่มการรู้จัก (Increased awareness) และสร้างผู้รับข่าวสาร (Audience ship) เกิดความได้เปรียบบนชั้นวาง (Shelf advantage) สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

4. การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and public relation) ใช้กรณีต่อไปนี
4.1 ใช้การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Image) ว่าเหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งคุณสมบัติอื่นๆ ไม่สามารถสร้างได้เหนือกว่าคู่แข่ง คุณสมบัติต่างๆ ของ ผลิตภัณฑ์เท่าเทียมกับคู่แข่ง ภาพลักษณ์จะเป็นสิ่งเดียวที่จะสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ได้ดี เมื่อสิ่งอื่นเท่ากันหมดภาพลักษณ์จึงเป็นสิ่งเดียวที่เหลืออยู่เพื่อใช้ในการต่อสู้ได้ โดยใช้เรื่องราวและตำนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่แข่งขันจะเลียนแบบกันได้ยากมาก ตัวอย่างปูนTPI จะทำปูนให้มีคุณสมบัติต่างๆ เท่าสยามซีเมนต์ ทางด้านคุณภาพ ความสามารถในการทำงาน และคุณสมบัติต่างๆ ได้ แต่จะบอกว่ามีประวัติอันยาวนานเหมือนสยามซีเมนต์ย่อมทำไม่ได้
4.2 การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์จะใช้เมื่อต้องการให้ความรู้กับบุคคล สินค้าบางชนิดจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อคนมีความรู้ในตราสินค้านั้นจึงต้องอธิบายถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับสินค้า สมมติว่าขายเนื้อโกเบซึ่งมีราคาที่แพงกว่าเนื้อธรรมดา เนื้อสันในธรรมดาราคากิโลกรัมละ 200 บาท เนื้อสหรัฐอเมริกาขายกิโลกรัมละ 350 บาท เนื้อโกเบขายกิโลกรัมบะ 420 บาท ในกรณีนี้จะต้องให้ความรู้ในคุณสมบัติของเนื้อโกเบว่านุ่มไม่เหนียวไม่มีพังผืด ผู้บริโภคจะต้องมองเห็นค่าของเนื้อโกเบเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อ
4.3 เมื่อมีข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (Values added) ให้กับผลิตภัณฑ์และข่าวสารนั้นไม่สามารถบรรจุเข้าไปในการโฆษณาได้ เพราะการโฆษณามีเวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นจึงใส่ข้อมูลเข้าไปในโฆษณามากๆ ไม่ได้ควรใช้ PR แทนในกรณีที่มีข้อมูลมากมายที่เป็นจุดชื่นชมในสินค้าเช่น เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ (Brand Knowledge) ซึ่งการโฆษณาไม่อาจจะครอบคลุมได้ แต่ขณะเดียวกันโฆษณาเหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

5. การตลาดทางตรง (Direct marketing) หมายถึง การตลาดทางไกล (Telemarketing) การขายทางแคตาล็อก (Catalogue sales)การสั่งซื้อทางไปรษณีย์(Mail order) การตลาดทางตรง ใช้กรณีต่างๆดังนี้
5.1 เมื่อมีฐานข้อมูล (Database) ที่ดีพอในกรณีนี้ถ้าทราบว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใครอยู่ที่ไหนจะเป็นการประหยัดกว่าการใช้สื่อถ้ากลุ่มเป้าหมายมี 8,000 คน ค่าแสตมป์คนละ 2.50 บาท จะเห็นว่าค่าใช้จ่าย 20,000 บาท ซึ่งถูกกว่าที่เราจะไปลงในสื่อสิ่งพิมพ์ที่ราคาสูงถึงประมาณ700,000 บาท
5.2 เมื่อต้องการสร้างการตลาดที่มีความเป็นส่วนตัว (Personalized marketing) ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกว่าเป็นการตลาดแบบส่วนตัวเมื่อผู้บริโภคได้รับจดหมายแล้วจะรู้สึกว่าเป็นลูกค้าสำคัญเป็นลูกค้าที่ประธานบริษัทรู้จัก ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และภาคภูมิใจว่าตนเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่าง เป็นกลุ่มเป้าหมายของคอนโดมิเนียมมูลค่า 20 ล้านบาท เป็นกลุ่มเป้าหมายของบัตรเครดิตชั้นนำ
5.3 ใช้เพื่อเป็นกลยุทธ์ติดตามผล (Follow up strategy) สมมติโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจคอนโดมิเนียมมีคนมาเยี่ยม 200 คนแต่ว่ามีคนที่สนใจเกิดความต้องการ 20 คน ส่วนอีก 180 คนนั้นเป็นกลุ่มที่เรียกว่ารอและดูไปก่อน เป็นกลุ่มที่จะต้องติดตามต่อไป ดังนั้นรอบสองอาจไม่จำเป็นต้องโฆษณาผ่านสื่อมวลชนหรือสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ใช้การตลาดทางตรงแทน โดยใช้จดหมายส่งผ่านไปยังอีก180 คนนั้น เป็นการเตือนความทรงจำและการเร่งรัดการตัดสินใจ
5.4 เป็นการเตือนความทรงจำ (Remind) การใช้ตลาดทางตรงเพื่อติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเดิมและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่นต่ออายุนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ เมื่อใกล้หมดอายุสมาชิกแล้ว

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 1, 2013 นิ้ว Uncategorized